
เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคซึ่งเป็นสาเหตุของอาการป่วยทรุดโทรมติดเชื้อหลายระบบของสุกรหลังหย่านม (Post-weaning multisystemic wasting syndrome; PMWS) ส่งผลกระทบให้ปริมาณผลผลิตของฟาร์มสุกรลดลง อีกทั้งเชื้อยังสามารถส่งต่อผ่านทางน้ำเชื้อที่ใช้ในการผสมเทียม และทำให้แม่สุกรติดเชื้อและกระทบกับระบบสืบพันธุ์และอาจเป็นการส่งต่อเชื้อผ่านทางรกสู่ลูกสุกรต่อได้ หากลูกสุกรได้รับนมน้ำเหลืองไม่เพียงพอ เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายและติดต่อได้อย่างรวดเร็ว โดยการสัมผัสโดยตรงกับมูลสุกรที่เป็นพาหะ มีรายงานว่าเชื้อไวรัสเซอรโคสามารถอยู่ในร่างกายของสุกรได้นาน 5-6 เดือน นอกจากนั้น รองเท้าบู๊ท อุปกรณ์ต่างๆ ยานพาหนะ สัตว์พาหะ ก็เป็นแหล่งที่อยู่และแพร่กระจายเชื้อสู่สุกรได้เช่นกัน
สัญญาณที่บ่งบอกว่าสุกรป่วยเป็นโรค
สุกรป่วยหลังหย่านมจะแสดงลักษณะทรุดโทรม ผอม แคระแกร็น หยุดโต หายใจลำบากและตัวเหลือง อาจมีอาการป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหารหรือทางเดินหายใจร่วมด้วย ซึ่งอาการแฝงของโรคอาจจะพบได้กับสุกรขุนบางตัวยาวนานไปจนถึงเวลาที่จับขาย ซึ่งสุกรที่ติดเชื้อและป่วยเรื้อรังมักมีขนาดเล็กกว่าสุกรตัวอื่นในฝูง สำคัญคือความล้มเหลวของระบบสืบพันธุ์ เชื้อไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 นี้สามารถเพิ่มจำนวนได้ในตัวอ่อน (Fetus) ทำให้ตัวอ่อนผิดปกติ ถ้าเกิดการติดเชื้อในช่วงตั้งท้องอาจะทำให้แม่สุกรแท้งได้ ส่วนใหญ่มักเกิดการแท้งในระยะกลางของการตั้งท้องควบคู่กับการเกิดภาวะลูกมัมมี่ (Mummified fetus)
การควบคุมและป้องกันโรคภายในฟาร์ม
1. กระต้นภูมิคุ้มกันสุกรด้วยการทำวัคซีน นิยมทำในฟาร์มที่พบสุกรแสดงอาการและตรวจพบเชื้อไวรัสในห้องปฏิบัติการ การทำวัคซีนจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันในแม่สุกรและทำให้ลูกสุกรมีภูมิคุ้มกันที่ดีผ่านทางการได้รับนมน้ำเหลือง
2. ลดจำนวนเชื้อไวรัสที่ฟุ้งกระจายอยู่ภายในโรงเรือน โดยการทำความสะอาดตามหลักสุขาภิบาลและการจัดการฟาร์มที่ดี เพราะหากนำลูกสุกรมาเลี้ยงรวมกันในระยะรุ่นและขุนในโรงเรือนที่มีการฟุ้งกระจายของเชื้อไวรัสอยู่ แม้จะได้รับภูมิคุ้มกันมาแล้วก็ยังสามารถติดเชื้อไวรัสอยู่ได้ แต่อาการป่วยอาจะไม่รุนแรง
#Sanimals #ซานิมอลส์
#โรคสำคัญในหมู #ไวรัสเซอร์โคในสุกร #Circovirus #PCV