Restocking
นำสุกรเข้ามาเลี้ยงอีกครั้ง วิธีคัดเลือกแม่พันธุ์อย่างไร

เมื่อจะนำสุกรเข้ามาเลี้ยงอีกครั้ง (Restocking) –—– วิธีการคัดเลือกสุกรเพื่อนำมาเป็นแม่พันธุ์

ชาวเกษตรกรหลายๆ ท่านอาจะประสบปัญหาสุกรป่วยเป็นโรค African swine fever จนทำให้ต้องคัดทิ้งสุกรออกและมีการพักเหล้า ฟื้นฟูฟาร์ม รอช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อนำสุกรใหม่กลับเข้ามาเลี้ยงอีกครั้ง หรือแม้กระทั่งเมื่อสุกรครบวงรอบการผลิต การแม่พันธุ์ใหม่เข้ามาเลี้ยงภายในฟาร์มจึงต้องมีการจัดการที่เหมาะสม

แล้ววิธีกรคัดเลือกสุกรที่จะนำมาเป็นแม่พันธุ์ต้องพิจารณาที่อะไรบ้าง ?

1. ดูประวัติสุกรที่นำเข้ามา

สายพันธุ์ของหมูที่จะนำมาเป็นแม่พันธุ์จะมีทั้งสายพันธุ์แท้ และสายพันธุ์ลูกผสม ซึ่งต้องดูควบคู่กับการวางแผนการผลิตว่าต้องการได้ลูกสุกรขุนขายเป็นพันธุ์แท้หรือลูกผสม
ควรซื้อสุกรจากแหล่งที่เชื้อถือได้และตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นแหล่งที่ปลอดจากโรคระบาด
ตรวจสอบประวัติสุกร ซึ่งจะเป็นหลักฐานที่ทำให้รู้ที่มาของหมูว่าพ่อแม่เป็นใคร สายพันธุ์อะไรและมีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง เช่น มีประวัติการคลอดเองหรือช่วยล้วงคลอด รวมถึงระยะเวลาในการคลอด ซึ่งจะบ่งบอกว่าสุกรเคยมีประวัติการคลอดยากหรือไม่ จำนวนและน้ำหนักลูกแรกคลอดหรือลูกหย่านม รวมถึงการเจริญเติบโตที่ดีและแข็งแรง
อายุของสุกรสาว ควรซื้อหมูสาวที่อายุประมาณ 5-7 เดือน เพื่อให้เห็นลักษะเจริญพันธุ์ภายนอกของสุกรชัดเจน

2. ลักษณะภายนอกของสุกร เป็นอีกหนึ่งเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกสุกร โดยพิจารณาจาก

ภายนอกต้องมีลักษณะตรงตามสายพันธุ์ที่ต้องการจะซื้อ โครงสร้างของร่างกายแข็งแรง โดยเฉพาะส่วนขา กีบทั้ง 2 ข้างต้องยาวเท่ากันและมีอวัยวะสืบพันธุ์ที่สมบูรณ์ เต้านมครบ 7 คู่ หัวนมควรมีระยะห่างเท่าๆ กัน ไม่มีหัวนมบอด
สะโพกหลังและไหล่กว้าง ลำตัวยาวลึก เป็นลักษณะแม่พันธุ์ที่ดี ลักษณะลูกหมูที่ได้ออกมาจะเป็นที่ต้องการของตลาด
อย่างไรก็ตาม ตามมาตรฐานการเฝ้าระวังและป้องกันโรค African swine fever จากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ (The swine Raisers Association of Thailand) ได้แนะนำการนำสุกรใหม่เข้ามาเลี้ยงภายในฟาร์มว่า การเลี้ยงสุกรรุ่นใหม่ (Restocking) ในฟาร์มที่เกิดโรคระบาดก่อนหน้าแล้ว ให้นำสุกรที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้เข้ามาเลี้ยงเพื่อเฝ้าระวังโรคอย่างน้อยเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ โดยปล่อยเลี้ยงหรือเดินรอบบริเวณ สังเกตดูอาการและทำการทดสอบทางห้องปฏิบัติการหรือทางซีรั่มวิทยากับสุกรเหล่านี้เพื่อค้นหาการติดเชื้อซ้ำ (Re-infection)

และสามารถติดตามเนื้อหาบทความ ในรูปแบบ Social ต่างๆ ได้ที่