จิ้งหรีด แหล่งโปรตีนทากเลือกใหม่ ?

จิ้งหรีด จะแทนที่แหล่งโปรตีนอย่างปลาป่นหรือกากถั่วเหลืองได้หรือไม่ ?

         โดยทั่วไป ปลาป่น (fish meal) และกากถั่วเหลือง (soy bean meal) จะเป็นสารอาหารโปรตีนหลักที่ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสุกรอยู่แล้ว เนื่องจากความสมดุลของกรดอะมิโนและสารอาหารอื่นๆ ที่ตรงตามความต้องการของสุกร แต่วัตถุดิบพวกนี้ก็ยังมีข้อถกเถียงถึงข้อจำกัดอยู่หลายๆ ด้าน

         ยกตัวอย่างเช่น ปลาป่น อาจมีเชื้อโรคปะปนอยู่ หรือในขณะที่กากถั่วเหลืองมี Anti-nutritional factors หรือปัจจัยที่ต่อต้านการดูดซึมสารอาหารไปใช้อยู่เยอะ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตสุกรลดลง
จิ้งหรีดจึงกลายมาเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกที่มีแนวโน้มจะเข้ามาแทนที่แหล่งโปรตีนอย่างปลาป่นและกากถั่วเหลืองได้ มีการลองใช้ประโยชน์จากจิ้งหรีดภายในฟาร์มสุกรและวิเคราะห์ผลการศึกษา ในลูกหมูอายุ 28 วัน แล้วพบว่าการเสริมโปรตีนทางเลือกอย่างจิ้งหรีดช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตให้ดีขึ้น เนื่องจากไคติน ที่อยู่บนเปลือกของจิ้งหรีดสามารถกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการการเจริญเติบโตในร่างกายได้ เช่น growth hormone และ insulin-like growth factor 1

         นอกจากนั้นแล้วยังสามารถลดอาการท้องเสียในลูกสุกรได้ด้วย เนื่องจากไคตินช่วยทำให้เอนไซม์ย่อยอาหารของสุกรมีการทำงานที่ดีขึ้น โปรตีนจึงถูกย่อยได้ดีขึ้น ส่งผลให้การสะสมโปรตีนในลำไส้ลดลง ปัจจัยที่ทำให้เกิดท้องเสียจึงลดลงตามไปด้วย

         อย่างไรก็ตามการนำจิ้งหรีดมาเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกแทนที่ปลาป่นและกากถั่วเหลือง คงต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพที่เป็นไปในทิศทางเดียวกับราคาที่สมเหตุสมผลและความสะดวกในการหาแหล่งวัตถุดิบ ตามแนวทางอุตสาหกรรมการผลิตปศุสัตว์ที่ยั่งยืนในอนาคตด้วย

และสามารถติดตามเนื้อหาบทความ ในรูปแบบ Social ต่างๆ ได้ที่