
ในช่วงกลางปี 2565 กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง ได้สรุปตัวเลขและปัญหาเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกปลาป่น โดยในภาพรวม ไทยมีการนำเข้าปลาป่น 4,004 ตัน มูลค่า 193 ล้านบาท (ในเดือนมิถุนายน 2565) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้าในเดือนเดียวกันจะพบว่า มีปริมาณและมูลค่าลดลง 34.1% และ 10.6% ตามลำดับ
ส่วนการส่งออก ไทยส่งออกปลาป่น 9,779 ตัน มูลค่า 435 ล้านบาท (ในเดือนมิถุนายน 2565) และเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้าในเดือนเดียวกันก็พบว่า มีปริมาณและมูลค่าลดลง 20.8% และ 4.5% ตามลำดับ
สถานการณ์ภายนอกประเทศอย่างประเทศจีน ที่เป็นประเทศนำเข้าปลาป่นจากเราถึง 72.6% ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาก็ยังคงราคาการซื้อปลาป่นไว้ให้ทรงตัวอยู่เหมือนเดิม โดยมีปริมาณการซื้อหน้าท่าเรือที่ยังคงทรงตัว ส่วนเสบียงหรือสต็อกในท่าเรือปรับสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากไม่ได้ต้องการขายภายในประเทศในราคาที่ต่ำเกินไป
โดยสรุปแล้วราคาปลาป่นน่าจะมีราคาทรงตัวหลังจากที่ราคาถูกปรับตัวขึ้นมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครน และภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ส่งผลให้อุสาหกรรมปลาป่นทุกภาคส่วนชะลอตัวตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เนื่องจากผู้ประกอบการมีต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผลผลิตปลาป่นในภาพรวมมีแนวโน้มลดลง สวนทางกับความต้องการใช้ปลาป่นเพื่อนำไปเป็นอาหารสัตว์ หากสถานการณ์ความไม่สงบในต่างประเทศและภาวะเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มยืดเยื้อ และทำให้ราคาปลาป่นปรับตัวพุ่งสูงขึ้นอีก เกษตรกรเลี้ยงสัตว์อาจต้องปรับตัวเพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยปรับเปลี่ยนไปใช้วัตถุดิบอื่นๆ แทนการเลือกใช้ปลาป่น
ที่มา: