
ราคาหมูที่พุ่งตัวสูงขึ้นไม่ได้หวือหวาอย่างที่คิด
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย การระบาดของ ASF ทำให้ราคาเนื้อหมูสูงขึ้น ราคาเนื้อหมูหรือเนื้อสันใน 1 กิโลกรัมเพิ่มขึ้นเป็น 200 บาท (5.6 ยูโร) ในเดือนกรกฎาคม 2565 กรมบริการการเกษตรต่างประเทศของสหรัฐ รายงานว่าช่วง 8 เดือนแรกของปี 2565 ราคาเนื้อสันนอกหมู 1 กิโลกรัมเพิ่มขึ้น 32% เทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2564
การเพิ่มขึ้นของราคาเนื้อหมูในประเทศไทยไม่ได้รุนแรงเท่ากับที่เกิดขึ้นในประเทศจีนหรือเวียดนาม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่มีฟาร์มเพาะพันธุ์เชิงพาณิชย์แห่งไหนติดเชื้อ อีกทั้งการระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาก็ทำให้การท่องเที่ยวของไทยหยุดชะงักลง ทำให้นักท่องเที่ยวหยุดเดินทางเข้ามาในไทยและทำให้ความต้องการเนื้อหมูมีไม่สูงมากนัก
วัคซีนไม่ใช่ทางเลือกของประเทศไทย
การนำวัคซีน ASF เข้ามาควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดโรค ASF ในฟาร์มสุกรไม่ใช่หนึ่งในตัวเลือกแรกของไทย ซึ่งแตกต่างจากประเทศเวียดนามที่ได้มีการเริ่มใช้วัคซีนที่พัฒนาขึ้นใหม่ตั้งแต่ต้นปี 2565 เนื่องจากประสิทธิภาพของวัคซีนก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัด และทางการของไทยก็ให้ความสำคัญกับเรื่องระบบ Biosecurity มากกว่า
สถานการณ์อยู่ภายใต้การควบคุม
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ASF ที่เกิดขึ้น ได้เร่งให้เกิดแนวโน้มที่ดีขึ้น ในหลายๆ ประเทศมุ่งไปสู่ความเป็นมืออาชีพของอุตสาหกรรมมากขึ้น เพราะโรคนี้มาพร้อมกับการตระหนักรู้และให้ความสำคัญกับการควบคุมโรคระบาดมากขึ้น มีกฎระเบียบที่ตามมามากขึ้นเพื่อควบคุมสถานการณ์ เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ก็มีความรู้เพิ่มมากขึ้นตามมาด้วย
นักวิชาการคาดการณ์ว่าในปี 2566 นี้ กระระบาดจะยังคงเกิดขึ้นต่อไป ปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากขึ้นเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศไทย ความต้องการเนื้อหมูก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เป็นผลให้ฟาร์มขนาดเล็กและขนาดกลางจำนวนมากจะกลับฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ และเพิ่มจำนวนขึ้นอีกครั้ง
แต่ะในขณะเดียวกันก็อาจมีการลักลอบนำเข้าสุกรหรือเนื้อสุกร ซึ่งจะส่งผลต่อราคาหมูในประเทศ และอาจจะพบการระบาดได้อยู่
สรุปแล้วประเทศไทยจัดการเรื่อง ASF ได้ดีแค่ไหน นักวิชาการกล่าวว่า มันขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังเปรียบเทียบกับประเทศไทยอยู่กับใคร ถ้าเปรียบเทียบไทยกับไต้หวัน ประเทศไต้หวันก็ต้องดีที่สุดอยู่แล้ว เพราะเจ้าหน้าที่เข้มงวดกับการควบคุมโรคมากๆ ถ้าไต้หวันได้คะแนน 100% ไทยก็จะได้คะแนน 70-80%