
เป็นโรคไวรัสติดต่อร้ายแรง หากมีการแพร่ระบาดในพื้นที่จะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรในวงกว้าง เนื่องจากหากสุกรติดเชื้อจะแพร่กระจายโรคได้รวดเร็วและเชื้อไวรัสสามารถคงทนในสิ่งแวดล้อมและผลิตภัณฑ์จากสุกรได้นาน เมื่อสุกรติดเชื้อและแสดงอาการจะมีอัตราการตายเฉียบพลันสูงถึง 90-100%
สัญญาณที่บ่งบอกว่าสุกรป่วยเป็นโรค
การติดเชื้อสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงสูง สุกรจะแสดงอาการแบบเฉียบพลัน ซึ่งเป็นรูปแบบอาการที่พบได้บ่อยที่สุด สุกรจะแสดงอาการไข้สูง เบื่ออาหาร ซึม อวัยวะต่างๆ บวมน้ำ มีผื่นแดงที่หู หาง หรือขาหนีบ ซึ่งเชื้อจะทำให้สุกรตายจากสภาวะช็อกในหนึ่งสัปดาห์หลักจากเริ่มแสดงอาการ ซึ่งมีอัตราการตายสูงถึง 90-100%
การติดต่อแพร่กระจายเชื้อ
มีรายงานว่าสุกรป่าซึ่งเป็นพาหะของโรคมักไม่แสดงอาการแต่จะแพร่เชื้อมาสู่สุกรเลี้ยง โดยส่งผ่านเชื้อจากการสัมผัสระหว่างสุกรกับสุกรโดยตรง เช่นการสัมผัสสารคัดหลั่งหรือเลือด การปนเปื้อนต่างๆ ที่เกิดจากมนุษย์ เช่น ติดต่อผ่านอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ อาหาร โรงเรือน ยานพาหนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งเคลื่อนย้ายสุกร รวมถึงแมลงพาหะ ได้แก่ เห็บอ่อน และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสุกรที่มีการปนเปื้อน รายงานจากสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ เชื้อไวรัสสามารถคงอยู่ได้นานถึง 15 สัปดาห์ในเลือดสุกรที่เน่าเสีย หรือ 1 เดือนในคอกสุกรที่มีการปนเปื้อน ดังนั้นเชื้อสุกรจึงสามารถติดเชื้อและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากเชื้อคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน
การควบคุมและป้องกันโรคภายในฟาร์ม
1.แจ้งภาครัฐในกรณีพบสุกรป่วยที่แสดงอาการ หรือให้ผลบวกจากการตรวจพบเชื้อไวรัสในห้องปฏิบัติการ
2.ไม่จำหน่ายซากสุกรที่สงสัยว่าจะเป็นโรค เนื่องจากจะเป็นพาหะให้แพร่เชื้อไปสู่พื้นที่อื่นๆ และเกิดการระบาดในวงกว้าง
3.มีการกำจัดซากสุกรอย่างเหมาะสมและถูกวิธี
4.มีระบบรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ที่ดี ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในโรงเรือน อุปกรณ์ที่ใช้ ยาพาหนะขนส่งสุกรตามหลักสุขาภิบาลและการจัดการฟาร์มที่ดี เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ
#Sanimals #ซานิมอลส์
#โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร #AfricanSwineFever #ASF