
เป็นที่รู้กันว่าเชื้อไวรัส ASF (African Swine Fever virus) บางครั้งจะสามารถตกค้างในสิ่งแวดล้อม เช่น อาหาร น้ำ หรือพื้นคอกที่สุกรอยู่อาศัยได้ และสามารถคงอยู่ได้เป็นเวลานาน ดังนั้นจึงมีการถกเถียงกันในประเด็นว่า ไวรัสชนิดนี้สามารถติดต่อไปยังฝูงสุกรผ่านทางอาหาร น้ำและวัสดุที่ใช้ภายในโรงเรือนเช่นสิ่งปูรอง (Bedding) ได้หรือไม่
โครงการวิจัยจากความร่วมมือของเยอรมันและสวีเดน ได้ศึกษาถึงความสามารถของเชื้อไวรัส ASF (African Swine Fever virus) ในการติดต่อผ่านทางอาหาร น้ำ และสิ่งปูรองภายในโรงเรือนของสุกร และได้ข้อสรุปว่า เชื้อไวรัส ASF ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในอาหารสัตว์ต่างๆ ผ่านกระบวนการผลิต เช่น การแปรรูป การสกัดกากใยต่างๆ หรือการผสมอาหาร มักจะไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่สามารถก่ออันตรายต่างๆ ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการจัดการกับอาหารอย่างไม่เหมาะสม อาจส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส ASF ได้อีกครั้งหลังการผลิต
ในกรณีที่อาหารสัตว์มีบทบาทในการแพร่กระจายเชื้อไวรัส ASF เป็นเพราะการใช้เศษอาหารต่างๆ นำมาเลี้ยงสุกร หรือที่เราเรียกว่า Swill feeding เศษอาหารหรือของเสียจากอาหารบางครั้งจะมีเนื้อหมูหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อหมูต่างๆ เป็นส่วนประกอบ ซึ่งเศษอาหารพวกนี้มีเชื้อไวรัสปนเปื้อนอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการใช้ Swill feeding มักจะเกิดขึ้นในการเลี้ยงสุกรหลังบ้าน และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคนี้ในเวลาต่อมา
มีการศึกษาในปี 2020 ว่าการเสริมส่วนประกอบบางอย่างในอาหารสัตว์สามารถช่วยลดความสามารถในการก่อโรคของไวรัสลงได้ เช่น Formaldehyde และ Medium-chain fatty acid (MCFA) หรืออีกหนึ่งวิธีคือใช้วัตถุดิบเพิ่มเติมในอาหารสัตว์ที่สามารถเสริมภูมิคุ้มกันให้กับสุกร เพื่อให้สุกรแข็งแรงและลดโอกาสการเจ็บป่วยจากโรคได้
#Sanimals #ซานิมอลส์
#ASF #AfricanSwineFevervirus #ASFติดต่อผ่านอาหาร #สุกร #หมู