ลักษณะทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการตายของลูกสุกรก่อนหย่านม

         การตายของลูกสุกรเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงกันมากในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร เกษตรกรมักมีเป้าหมายลดอัตราการตายของลูกสุกรก่อนหย่านมให้ได้มากที่สุด ซึ่งปัจจัยส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดการตายมักจะมาจาก การจัดการด้านสุขภาพ อุณหภูมิ อาหาร สภาพแวดล้อมของโรงเรือน นอกจากนี้แล้ว ปัจจัยด้านพันธุกรรมก็มีความเกี่ยวข้องกับการตายของลูกสุกรก่อนอย่านมด้วยเช่นกัน

พันธุกรรมส่งผลต่ออัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรอย่างไร ?

ส่งผลต่อขนาดครอกและน้ำหนักแรกเกิด

         ในการผลิตสุกร เกษตรกรมักต้องการลูกสุกรในแต่ละครอกจำนวนมาก แต่ปัจจัยนี้กลับกลายเป็นสิ่งที่ทำให้อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรในแต่ละครอกน้อยลง ลูกสุกรที่คลอดออกมาบางตัวมักจะมีอาการอ่อนแอจากการได้น้ำนมไม่เพียงพอ หรือเกิดการทับกันในครอก

         การเลือกแม่พันธุ์ที่มีพันธุกรรมที่ดี ขนาดครอกที่คงที่มักส่งผลดีกว่าการเพิ่มขนาดครอกให้ได้ลูกสุกรจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจากการทำให้ขนาดครอกคงที่ จะทำให้น้ำหนักของลูกสุกรแรกเกิดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและทำให้อัตราการรอดชีวิตมีมากกว่า

ส่งผลต่อขนาดตัวของลูกสุกร

         แน่นอนว่ายิ่งจำนวนลูกสุกรในแต่ละครอกเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งส่งผลให้ลูกสุกรมีขนาดตัวไม่เท่ากัน ลูกสุกรที่มีขนาดตัวใหญ่ เสี่ยงที่จะตายได้จากการเกิดภาวะคลอดยากของแม่สุกร ส่วนลูกสุกรที่มีขนาดตัวเล็ก ก็มีความเสี่ยงที่จะขาดสารอาหารและทำให้อ่อนแอกว่าตัวอื่นในครอก

จำนวนเต้านมของแม่สุกร

         สายพันธุ์ของแม่สุกรที่มีจำนวนเต้านมที่ใช้งานได้มากย่อมดีกว่าสายพันธุ์ที่มีจำนวนเต้านมน้อยกว่า มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าเต้านมของแม่สุกรที่ใช้งานได้เพิ่มขึ้น 1 เต้า ส่งผลให้อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรเพิ่มขึ้นถึง 3.25% รวมทั้งน้ำหนักหย่านมต่อครอกก็เพิ่มขึ้น 3.6 กิโลกรัมด้วยเช่นกัน

ความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด

         ภาวะอัณฑะทองแดง หรือไส้เลื่อนมักเกิดขึ้นในลูกสุกรแรกเกิด ซึ่งปัจจัยด้านพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิดพวกนี้ด้วยเช่นกัน

ที่มา: https://www.pigprogress.net/pigs/genetics/9-genetic-factors-related-to-pre-weaning-mortality/

#ลูกสุกรก่อนหย่านม #ลูกสุกรตาย #การตายของลูกสุกร

และสามารถติดตามเนื้อหาบทความ ในรูปแบบ Social ต่างๆ ได้ที่