สรุปนโยบายและมาตรการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2564-2566

         การนำเข้าข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ส่วนใหญ่จะมีประเทศเมียนมา สปป.ลาว กัมพูดชา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นคู่ค้าของไทย โดยประเทศนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย 3 อันดับ ได้แก่ เมียนมา (98.17%), สปป.ลาว (0.63%) และกัมพูชา (0.33%) (สถิติเมื่อปี 2564)
 
ไทยเปิดตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (Free-trade area; FTA) โดยสามารถแบ่งกลุ่มการเปิดตลาดได้ 3 กลุ่ม ได้แก่
 
1 ความตกลงการค้าเสรีที่ลดอัตราภาษีร้อยละ 0 ไม่กำหนดปริมาณ ไม่ต้องขออนุญาต ไม่ต้องจัดระเบียบนำเข้า ได้แก่
 
ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA)
ความตกลงความเป็นหุ้นส่วน ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์ (TNZCEP)
ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA)
 
2 ความตกลงการค้าเสรีที่องค์กรการค้าโลก (WTO) กำหนด ได้แก่
 
ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจอาเซียน-เกาหลีใต้ (AKFTA)
ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP)
ความตกลงการค้าเสรีไทย – ชิลี (TCFTA)
ความตกลง ความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA)
โดย WTO มีการคิดภาษีแยกเป็น ภาษีในโควตา (54,700 ตัน/ปี) จะคิดอัตราภาษีร้อยละ 20 และต้องนำเข้าผ่านอคส. แต่เพียงผู้เดียว ไม่จำกัดช่วงเวลาการนำเข้า ส่วนภาษีนอกโควตาจะคิดอัตราภาษีร้อยละ 73 และคิดค่าธรรมเนียมพิเศษอีก 180 บาท/ตัน
 
3 ไม่ผูกพันการเปิดตลาด หรือการนำเข้าจากประเทศนอกความตกลง FTA ได้แก่
 
ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน (ACFTA)
ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – ออสเตรเลีย – นิวซีแลนด์ (AANZFTA)
ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-อินเดีย (AIFTA)
ความตกลงการค้าเสรีไทย-อินเดีย (TIFTA)
ความตกลงว่าด้วย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย – เปรู (TPCEP)
จะคิดอัตราภาษี 2.75 บาท/กก. และคิดค่าธรรมเนียมพิเศษ 1,000 บาท/ตัน
 

และสามารถติดตามเนื้อหาบทความ ในรูปแบบ Social ต่างๆ ได้ที่