ด้วยโรคอหิวาต์แอฟริการสุกร (ASF) ที่ทำลายล้างฝูงสุกรในเอเชียในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยก็มีส่วนเช่นกัน เพราะในช่วงเดือนมกราคม 2565 ทางการไทยก็ได้มีการยืนยันการมีอยู่ของเชื้อไวรัสตัวนี้ และทำให้มีมาตรการต่างๆ เข้ามาควบคุม
ASF ได้แพร่กระจายไปในฟาร์มสุกรขนาดเล็กในประไทย ในช่วงเดือนมีนาคม 2565 อาจารย์สุวรรณา สายรวมญาติ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เขียนบทความใน FFTC-AP Agriculture Policy Platform ว่าจำนวนผู้เลี้ยงสุกรในประเทศไทยลดลงไปถึง 43% อันเป็นผลมาจาก ASF อาจารย์ได้กล่าวเสริมว่าฟาร์มส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจาก ASF นั้นมีขนาดเล็กมาก ส่วนใหญ่เป็นพวกฟาร์มเลี้ยงหมูหลังบ้าน นั่นคือตั้งแต่การเลี้ยงหมู 1 ตัวไปจนถึงเลี้ยงหมู 50 ตัว
ผู้ผลิตรายใหญ่ของไทย เช่น CP, Betagro หรือ Thaifood สามารถรอดพ้นจากชะตากรรมเรื่องราคาหมูมาได้ เพราะถึงแม้ว่าจำนวนผู้เลี้ยงสุกรจะลดลงไปถึง 43% แต่ก็ไม่ได้มีผลกับจำนวนแม่สุกรทั้งหมด อีกทั้งผู้ผลิตสุกรรายใหญ่เตรียมพร้อมสำหรับการมาถึงของไวรัส ASF ไว้แล้ว ฟาร์มขนาดใหญ่จะรู้ดีว่าความปลอดภัยทางชีวภาพหรือระบบ Biosecurity เป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมโรค และด้วยช่วงทาง เครื่องมือ โครงสร้างฟาร์มและโรงเรือน ก็เอื้อต่อการป้องกันการระบาดของเชื้อได้มากกว่าฟาร์มสุกรรายย่อย และกลายเป็นข้อแตกต่างระหว่างฟาร์มสุกรรายย่อยและผู้ผลิตรายใหญ่ที่ทำให้จำนวนการสูญเสียสุกรไม่เท่ากัน