
ปัจจุบันค่าอาหารของไก่ไข่ขึ้นมาเกือบ 50% เนื่องจากต้นทุนค่าวัตถุดิบที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แล้วเกษตรกรอย่างเราจะต้องทำอย่างไรกับราคาไข่ที่ยังสวนทางกับราคาอาหารหล่ะ
1. ต้องรู้องค์ประกอบที่สำคัญในอาหารไก่ไข่
รู้ สิ่งสำคัญที่ห้ามลด แม้ราคาอาหารเปลี่ยน ได้แก่ พลังงานในอาหาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับ %ไข่ , ปริมาณอะมิโนแอซิด เกี่ยวข้องกับขนาดไข่ และ แร่ธาตุ เกี่ยวข้องกับความแข็งแรง และยืดหยุ่นของเปลือกไข่ และกระดูก เนื่องจากทั้ง 3 ส่วนนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อการผลิต และคุณภาพไข่ ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะต้องเป็นสูตรที่เหมาะสมกับสายพันธุ์ หรือปรับลดเพิ่มตามความต้องการของตลาด
รู้ จักเลือกใช้ แร่ธาตุที่มีความสามารถในการดูดซึมนำไปใช้ได้ดี รู้จักเลือกใช้ตัวช่วยลดต้นทุนในอาหาร อาทิ เอนไซม์ อิมัลซิไฟเออร์ ที่มีงานวิจัยเกี่ยวกับการแทนค่าพลังงาน โปรตีน หรืออะมิโนแอซิด ได้จริง
2. ต้องรู้ราคาที่ต้องจ่ายกับพลังงานที่ไก่จะได้รับ ไม่ใช่ราคาอาหารที่ไก่ได้รับกับราคาที่ต้องจ่าย
การที่คำนึงแต่ราคาอาหารที่ถูกเพียงอย่างเดียว จนลืมนึกถึงพลังงานในอาหารอาจส่งผลต่อปริมาณการกินอาหารต่อตัว (Feed intake) สูงขึ้น ซึ่งเมื่อคำนวณออกมาแล้วอาจทำให้ต้นทุนอาหารที่จ่ายเพื่อผลิตไข่ต่อฟองนั้นสูงขึ้น ยกตัวอย่างการศึกษาของ Hy-Line International internal หากเราลดพลังงานในอาหารไก่สายพันธุ์ Hy-Line ลง 25% ในโรงเรือนที่มีสภาวะแวดล้อมปกติไก่จะชดเชยพลังงานที่หายไปโดยกินอาหารเพิ่มขึ้นได้เพียง 7.47% ซึ่งเมื่อลองคำนวณแล้ว ไก่ยังขาดพลังงานอีก 16.25% ทำให้ผลผลิตไก่ชุดนี้ลดลงอย่างมาก และยังเปลืองค่าอาหารที่กินเพิ่มขึ้นอีก
3. ทำอาหารให้ถูกลงโดยการลดโปรตีนได้ไหม?
การลดโปรตีนในอาหารลง สามารถทำได้ แต่ ต้องทำกรดอะมิโนในอาหารที่เพียงพอ และสมดุล มีงานวิจัยพบว่า การลด โปรตีนลด 16% จาก Crude protein ในอาหารที่มีความสมดุลของกรดอะมิโนนั้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อขนาดฟองไข่ แต่หากลดลงโดยไม่ได้ปรับกรดอะมิโนให้สมดุลจะส่งผลให้ไข่เล็กลงอย่างน้อย 36.6% (Harms et al., 1982)
4. Feed Additive VS ราคาต้นทุนอาหาร VS ประสิทธิภาพการผลิต
Feed additive ที่คุ้มค่าในการใช้ที่สุดคงหนีไม่พ้นเอนไซม์ ไฟเทส NSP เอนไซม์ และโปรทิเอส เอนไซม์ (Protease) นอกจานี้ยังมีสามารถ Feed additive ที่สามารถเข้ามาลดต้นทุน เช่น นูทริชั่นแนล-อิมัลซิไฟเออร์ (Nutritional Emulsifier) ที่สามารถเข้ามาช่วยแทนหลังงานในอาหารได้ ซึ่งการเลือกใช้ Feed additive นั้นต้องพิจารณาบนพื้นฐานของการทดลอง วัตถุดิบที่ทางฟาร์มใช้
5.เลือกใช้วัตถุดิบทางเลือกดีไหม?
แม้ว่าการพิจารณาส่วนผสมทางเลือกอาจเป็นเรื่องดึงดูด แต่ก่อนจะใช่วัตถุดิบทางเลือก ควรจะศึกษาให้ดีก่อน เนื่องจากวัตถุดิบบางตัวมีข้อจำกัดในการใช้ หากพบส่วนผสมที่เหมาะสมในสถานการณ์และราคาที่เหมาะสม และต้องการนำมาใช้ ควรเริ่มจากการปรับใส่ทีละนิดก่อน เพื่อให้สัตว์ได้ปรับตัว หรือหากเสริมส่วนผสมบางอย่าง อาทิ ข้าวสาลี ก็อาจจะพิจารณาเสริมเสริมเอนไซม์บางตัวลงไปเพื่อลดปัญหาขี้เปรอะไข่ตามมา
Modifier from : https://www.thepoultrysite.com/…/high-performance-vs…