
1.ต้นทุนอาหารที่สูง
ต้นทุนอาหารสัตว์เชื่อมโยงโดยตรงกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ และคิดเป็น 60-70% ของต้นทุนของเกษตรกร การเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตาม การเคลื่อนไหวของราคาที่สูงขึ้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความไม่แน่นอนใดๆ เกี่ยวกับต้นทุนอาหารสัตว์ จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อราคาการผลิตไข่
2.การระบาดของโรคไข้หวัดนกในต่างประเทศ
แรงกดดันจากโรคไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และข้อเท็จจริงที่ว่าขณะนี้พบการระบาดตลอดทั้งปี ทำให้การผลิตตกต่ำลง ในสหรัฐอเมริกา มีการลดจำนวนไก่ไข่มากกว่า 40 ล้านตัว ในช่วงปี 2565 และต้นปี 2566 เช่นเดียวกันกับไก่ไข่ในยุโรป ญี่ปุ่น และแอฟริกาลดลง 5% , 9% และ 10% ตามลำดับ
3.ผลกระทบจากโควิด-19
ตอนนี้เกือบทุกประเทศเริ่มกลับปกติหลังเหตุการณ์โรคระบาดทำให้ความต้องการหรืออุปสงค์ไข่กลับมาเกือบเท่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับร้านอาหารและภาคธุรกิจนอกบ้าน แต่การฟื้นตัวของอุปทานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปรับปรุงพันธุ์นั้นค่อนข้างช้าเนื่องจากวงจรการผลิต และการสืบพันธุ์ที่ยาวนาน อาจใช้เวลามากกว่าหนึ่งปีในการปรับสมดุลของอุปทานกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากวงจรการผลิตไก่ไข่นั้นใช้ระยะเวลานานกว่าอุตสหกรรมสุกร หรือไก่เนื้อ ในตลาด(บางแห่ง)ยังคงประสบปัญหาเรื่องการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ จากข้อจำกัดของรัฐบาลอีกด้วย
4.ความต้องการไข่เพิ่มขึ้นในยุคข้าวยากหมากแพง
ด้วยการลดลงของการเติบโตของ GDP โลกที่ชะลอตัวลงจาก 6.1% ในปี 2564 เป็น 3.4% ในปี 2565 และมีแนวโน้มจะเหลือเพียง 2.8% ในปี 2566 จึงมีแรงกดดันมากขึ้นต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค ไข่มักเป็นหนึ่งในแหล่งโปรตีนจากสัตว์ที่มีต้นทุนต่ำที่สุด ดังนั้นจึงเป็นอาหารหลักที่สำคัญในหลายตลาด โดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่ ผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนจากโปรตีนจากสัตว์ราคาแพง เช่น เนื้อวัว มาเป็นเนื้อไก่และไข่ และจากแนวคิดที่มีต้นทุนสูง เช่น การเลือกไข่ออร์แกนิกและการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ไปสู่แนวคิดที่ต้นทุนต่ำกว่า สิ่งนี้นำไปสู่ความต้องการไข่ทั่วโลกที่สูงขึ้น
อ้างอิง: Mcdougal T.,2023