
การตัดหางลูกหมู เพื่ออะไร? :
การตัดหางลูกหมูทำเพื่อป้องกันการกัด และแทะกันเองในคอกจนทำเกิดความเสียหายหรือบาดเจ็บ
ปัจจัยที่เหนี่ยวนำทำให้ลูกหมูกัดหางกัน :
การตัดหางเป็นวิธีที่ง่ายและตัดปัญหาที่ปลายเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพจริง แต่การตัดหางนั้นส่งผลต่อสวัสดิภาพสัตว์โดยตรง ในความเป็นจริงแล้วแอดพบว่าการกัดหางกันนั้นมีปัจจัยโน้มนำดังนี้
1. สภาพอากาศในโรงเรือน : อากาศที่มีความชื้นสูงนั้นจะเหนี่ยงนำให้ลูกหมูเกิดความก้าวร้าว รวมถึงหากในโรงเรือนระบายอากาศไม่ดี มีการสะสมของก๊าสคาร์บอนไดอ๊อกไซตสูง (>3000 ppm) จะส่งผลให้ลูกหมูกัดหางกัน
2. การเลี้ยงหนาแน่นเกินไปต่อคอก
3. จำนวนรางน้ำ และรางอาหารไม่พอ
4. เจอแต่แสงจากหลดไฟ ไม่เคยได้รับแสงแดด
5. มีการย้ายสลับลูกหมูบ่อย
6. ได้รับความเครียดเป็นระยะเวลานาน
7. ลูกหมูมีความเบื่อหน่าย
8. มีเสียงรบกวนมากเกินไป
9. ไม่มีการจัดการย้ายลูกหมูที่ป่วย และอ่อนแอออกจากตัวอื่น
10. อาหารที่ไม่ดี : อาหารที่มีสัดส่วนพลังงานและโปรตีนในอาหารสัตว์ไม่ถูกต้อง , มีเกลือต่ำเกิน, เยื่อใยในอาหารไม่พอ, การขาดแร่ธาตุเช่น แมกนีเซียม หรือวิตามิน, การขาดทริโตเฟน, อาหารที่มีการปนเปื้อนจากสารพิษจากเชื้อรา
11. อาหารหลายสูตรไป เปลี่ยนอาหารบ่อยเกิน
12. โรคก็สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดกัดหางได้ เช่นโรคที่ทำให้เกิดอาการคัน หรือติดเชื้อที่ผิวหนัง
13. การหย่านมเร็วเกินไป
14. มีการเลื่อนการตอนหมู
15. การตัดฟัน
จะพบว่าค่อนข้างมีหลายปัจจัยที่เหนี่ยวนำให้เกิดการกัดหางกัน จึงเป็นสาเหตุทำให้ควบคุม หรือป้องกันยาก แต่หากเกิดปัญหาขึ้น ฟาร์มสามารถแยกหมูที่เป็นตัวปัญหาออกจากกลุ่มก่อน และลดความหนาแน่นในคอก พจัดหาอุปกรณ์เช่นฟางให้หมูเล่น สิ่งสำคัญคืออีกอย่างคือระดับแร่ธาตุอื่นๆ ในอาหารโดยเฉพาะแมกนีเซียมและฟอสฟอรัส เช่น อาหารผสมสำหรับหมูขุนระดับฟอสฟอรัสควรอยู่ที่ประมาณ 0.5% และอัตราส่วนแคลเซียม/ฟอสฟอรัสไม่ควรเกิน 1.25:1 ระดับแมกนีเซียมควรมีอย่างน้อย 0.08% การขาดแร่ธาตุอันเป็นสาเหตุของ เป็นต้น แต่หากในกรณีที่จำเป็นต้องตอนหาง แอดมินแนะนำทำที่อายุ 1-3 วันแรก และใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า หรือความร้อน เพื่อป้องกันการเสียเลือดมากเกินไป รวมถึงการใช้ยาชาเพื่อลดความเจ็บปวดอาจจะต้องมีการพิจารณาเพิ่มด้วย
โดยสรุป แอดอยากให้ลองวิเคราะห์ปัจจัย และกำจัดออกให้หมดก่อนจะช่วยลดปัญหาการกัดหางกันได้อย่างมาก หากในบางกรณียังพบปัญหาอยู่อาจจะพิจารณาการตัดหางเป็นลำดับถัดมา
Modifier and Ref . : Z. Pejsak, 2024, Is it practically possible to phase out tail docking in piglets?.